องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือองค์การนาซา ประกาศล่าสุดถึงการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ ซึ่งเป็นยานอวกาศที่องค์การนาซาส่งไปทำภารกิจตรวจจับดาวเคราะห์ที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลกเมื่อปี พ.ศ.2552 โดยยานอวกาศดังกล่าวจะมองหาดาวฤกษ์และดวงดาวที่อยู่ใกล้ๆโดยรอบกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา

การค้นพบครั้งใหม่นี้นักดาราศาสตร์เผยว่า กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ได้ตรวจพบดวงดาวประมาณ 200,000 ดวงในกลุ่มดาวหงส์ และมีดวงดาวจำนวน 219 ดวงได้รับการ ยืนยันสถานะว่าเป็นดาวเคราะห์ แต่ที่น่าตื่นเต้นคือพบว่าในจำนวนนั้นมีดวงดาว 10 ดวงที่โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ของพวกมัน ด้วยระยะห่างเทียบเท่ากับโลกของเราที่กำลังโคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งเรียกว่าอยู่ในพื้นที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต (Habitable zone) สันนิษฐานว่ามีน้ำที่คงสถานะเป็นของเหลวและสิ่งมีชีวิตที่อยู่ได้อย่างยั่งยืน

ดาวทั้ง 10 ดวงนี้คาดว่าจะมีขนาดและอุณหภูมิใกล้เคียงกับโลกด้วย โดยข้อมูลจากยานเคปเลอร์เผยว่า ดาวเคราะห์หลายดวงมีขนาดใหญ่กว่าโลกราวๆ 1.75 เท่า และดวงที่เล็กกว่าก็มีแนวโน้มที่จะเป็นมวลของ แข็งอย่างหิน ขณะที่หลายๆดวงมีขนาด 2-3.5 เท่าของโลกถูกปกคลุมด้วยก๊าซเหมือนกับดาวเนปจูน การพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะครั้งนี้จึงจุดคำถามจากนักวิทยาศาสตร์ขึ้นมาอีกครั้งว่า “เราอยู่เพียงลำพังจริงหรือ?”.