แพทย์ด้านกระดูกและกล้ามเนื้อ ให้ความเห็นพฤติกรรมการกดใช้งานสมาร์ทโฟนมากเกินไป เสี่ยงนิ้วและข้อมือทำงานหนัก จนอาจเกิดนิ้วล็อก อันเป็นโรคยอดฮิตของคนที่ใช้สมาร์ทโฟนแบบผิดๆ แนะทางเลือกใช้อุปกรณ์ช่วยสัมผัส หรือสไตลลัสจิ้มจอแทน...
นิ้วหัวแม่มือหรือนิ้วโป้งถูกออกแบบตามธรรมชาติให้มนุษย์สามารถหยิบจับ ยึดเกาะ และถือสิ่งของ
แต่ทุกวันนี้เราใช้มันไปกับการพิมพ์ แชท กด สัมผัส สไลด์ และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมายบนอุปกรณ์อย่าง
สมาร์ทโฟนที่ได้กลายเป็นอวัยวะที่ 33 ของมนุษย์ไปเสียแล้ว ดูได้จากความเห็นของวัยรุ่นส่วนหนึ่งเกือบ 100%
เผยว่า “ชีวิตขาดสมาร์ทโฟนไม่ได้" ถ้าไม่เชื่อ ให้ลองจินตนาการดูว่า ภายในหนึ่งวันตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า จนกระทั่งก่อนเข้านอนตอนกลางคืน คุณใช้นิ้วโป้งไปกับการกดบนหน้าจอสมาร์ทโฟนกี่ครั้ง เชื่อหรือไม่ว่าสำหรับบางคนนั้นมากกว่า 8,000 ครั้งต่อวันเลยทีเดียว
...
ด้วยเหตุนี้ นายแพทย์จตุพล คงถาวรสกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและกล้ามเนื้อ กล่าวถึงอาการบาดเจ็บของนิ้วหัวแม่มือเนื่องจากการใช้งานมากเกินไปว่า "มากกว่า 50% ของคนไข้ในโรงพยาบาลใกล้อาคารสำนักงานในเมืองจะมาพบแพทย์ด้านกระดูกและกล้ามเนื้อด้วยอาการผิดปกติของนิ้วและข้อมือ เนื่องจากการใช้งานสมาร์ทโฟนมากเกินไป โดยการใช้งานนิ้วมืออย่างหนักจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของความดันระหว่างข้อต่อต่างๆ รวมถึงเส้นเอ็นทับเส้นประสาทข้อมือ ซึ่งจะทำให้มีอาการมือชาและนิ้วล็อก หรืออาจทำให้เกิดการอักเสบของข้อมือและนิ้วมือ ซึ่งวิธีการรักษาก็คือการทานยา ฉีดยา หรือผ่าตัด แต่วิธีการรักษาเหล่านี้เป็นการรักษาตามอาการหรือการรักษาที่ปลายเหตุเท่านั้น
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและกล้ามเนื้อ กล่าวอีกว่า การรักษาที่แท้จริง คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ถ้าเราลดการใช้สมาร์ทโฟนไม่ได้ ก็ต้องลองมองหาอุปกรณ์ที่ช่วยในการสร้างความสมดุลของการใช้งานข้อมือและนิ้วมือในการกดสมาร์ทโฟน อย่างไรก็ตาม มันเป็นไปได้ยากที่จะไม่ใช้สมาร์ทโฟนเลย
ให้ใช้สมาร์ทโฟนที่จอใหญ่ หรือ แท็บเล็ตที่มาพร้อมปากกาสไตลัส โดยใช้ปากกาพิมพ์และจิ้มคำสั่งต่างๆ แทนการใช้นิ้วหัวแม่มือ เพราะการใช้ปากกาบนสมาร์ทโฟนจะทำให้มีการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ ข้อมือ กล้ามเนื้อแขนได้สมดุลมากขึ้น
ทั้งนี้ สมาร์ทโฟนที่มีปากกาสไตลัสติดมาด้วย มีจำหน่ายในท้องตลาดมากมายหลายรุ่น อาทิ ซัมซุง ตระกูล Note อย่าง Note5 ที่มี SPen หรือแท็บเล็ตอย่าง Galaxy Tab A เป็นต้น
...
แนะนำเคล็ดลับ “กันไว้ดีกว่าแก้” เพื่อการป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้งานนิ้วหัวแม่มือ ในการสัมผัส
สมาร์ทโฟนมากเกินไป
• วางสมาร์ทโฟนลงบ้าง ใช้แต่พอดี
• ส่งข้อความเสียงแทนการพิมพ์หรือใช้ฟีเจอร์สั่งพิมพ์ด้วยเสียง
• เปลี่ยนมือที่ใช้ถือสมาร์ทโฟนบ่อยๆ
• วางสมาร์ทโฟนลงบนโต๊ะแล้วพิมพ์ด้วยนิ้วชี้ทั้งสองข้าง
• พยายามอย่าใช้นิ้วหัวแม่มือในการทำกิจกรรมอื่นซ้ำกันบ่อยๆ