จากวันนั้นถึงวันนี้ 30 ปีผ่านไป บี-1 แลนเซอร์ เครื่องบินทิ้งระเบิดที่ถูกพัฒนาขึ้นมาในทศวรรษที่ 80 ที่ในปัจจุบันมันถูกวางให้เป็นกำลังสำคัญในการโจมตีภาคพื้นดิน ของ ทอ.สหรัฐฯ และยังสามารถพับปีกได้อีกด้วย...

ถ้าเอ่ยถึงเครื่องบินทิ้งระเบิดของกองทัพอากาศสหรัฐฯ เชื่อว่าคนคงรู้จัก ชื่อ บี-52 สตาโตรฟอร์เทรส ที่ผ่านสมรภูมิมามากมายทั้งเวียดนาม อ่าวเปอร์เซีย และในอิรัก กับ บี -2 สปิริต เครื่องบินทิ้งระเบิดที่มีคุณลักษณะสเตลธ์ รูปร่างเหมือนปีกบินได้ แต่จริงๆ แล้ว ทอ.สหรัฐฯ ยังมีเครื่องบินทิ้งระเบิดอีกแบบที่ถูกพัฒนาขึ้นมาในทศวรรษที่ 80 เพื่อใช้ในภารกิจสำคัญ คือ การบินทิ้งระเบิดในระดับต่ำพิสัยไกล และยังสามารถทำความเร็วด้วยความเร็วเหนือเสียง 1.25 มัคได้ด้วย

...

ร็อคเวลล์ บี-1 แลนเซอร์ หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า 'เดอะโบน' เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 1974 กับรุ่น บี-1 เอ แต่โครงการถูกยกเลิกไป บี-1 กลับมาอีกครั้งในรุ่นปรับปรุง บี-1 บี ที่มุ่งเน้นมาเพื่อการโจมตีในระดับต่ำ มันเข้าประจำการในปี 1986 ขึ้นตรงกับกองบัญชาการยุทธศาสตร์ทางอากาศ กองทัพอากาศสหรัฐฯ (SAC) ในฐานะเครื่องบินทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ แต่มาในช่วงกลางยุค 90 บี-1 บี ได้เปลี่ยนบทบาทมาเป็นการโจมตีแบบพิเศษในปี 1999 บี-1 ปฏิบัติภารกิจคิดเป็น 2% ของการโจมตีทางอากาศทั้งหมด แต่ทิ้งระเบิดคิดเป็น 20% ของที่ใช้โจมตี โดยมันได้ถูกใช้งานในสงครามอิรัก และอัฟกานิสถาน

บี-1 บี แลนเซอร์ มีคู่แข่งที่หน้าตาละม้ายคล้ายคลึงกัน จากฝั่งรัสเซีย นั่นคือ ตู-160 แบล็กแจ็ค (Tu-160 Blackjack)

10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ B-1B Lancer


1. บี-1บี สามารถทำความเร็วได้ 1.2 มัค เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดที่เร็วที่สุดของ ทอ.สหรัฐฯ

2. มีระวางบรรทุกอาวุธที่ใหญ่มาก สามารถติดตั้งขีปนาวุธร่อน (ครุยส์ มิสไซล์) ได้ 24 ลูก

3. คิดเป็นน้ำหนักรวมสูงถึง 75,000 ปอนด์

4. ด้วยขีดความสามารถในการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ​ทำให้ บี-1บี บินไปได้ทุกที่ได้ทั่วโลก

5. มันสามารถใช้งานได้ไปจนถึงปี 2040 พร้อมการปรับปรุงห้องนักบินให้เป็นแบบดิจิตอล


6. ปฏิบัติงานแล้วกว่า 12,000 เที่ยวบิน ทั้ง ซีเรีย ลิเบีย อิรัก และ อัพกานิสถาน

7. B-1B Lancer ใช้ลูกเรือ 4 คน ผบ.เครื่อง นักบิน และเจ้าหน้าที่การอาวุธ 2 คน ยังคงมี B-1B Lancer ในประจำการอยู่ 62 ลำ ในฐานบินที่รัฐเทกซัส และรัฐเซาท์ดาโกต้า 

8. ปัจจุบัน โบอิ้ง เป็นผู้รับผิดชอบในการปรับปรุง บี-1 บีของทอ.สหรัฐฯ ให้ทันสมัย ด้วยระบบอำนวยการรบในสนาม การติดตั้งอุปกรณ์นำทางใหม่ๆ เป็นต้น

9. จุดเด่นที่สะดุดตาของ B-1B Lancer คือ ปีกที่สามารถพับลู่ไปด้านหลังได้เหมือนกับ เอฟ-14 ทอมแคท และ อีเอฟ-111 เอ ราเวน

10. ปัจจุบัน B-1B Lancer สังกัดอยู่กับ กองบัญชาการรบทางอากาศ Air Combat Command (ACC)

ที่มา : โบอิ้ง

...