โรคภูมิแพ้ถือเป็นโรคยอดฮิตสำหรับคนเมืองที่ไม่มีทางรักษา เกิดได้ตลอดทั้งจากพันธุกรรมที่พ่อแม่ส่งต่อให้ลูกตั้งแต่เกิด หรือในวัยผู้ใหญ่ก็สามารถเป็นโรคนี้ได้ ถ้าอยู่ในสถานที่ที่มีความเสี่ยง โดย ศูนย์บริการและวิจัยไรฝุ่นศิริราช ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ได้ศึกษาวิจัยพบว่าคนไทยมากกว่าร้อยละ 50 หรือคนไทยกว่าครึ่งประเทศกำลังเป็นโรคภูมิแพ้ ซึ่งโรคภูมิแพ้มีหลายชนิด แต่ที่มาวินเป็นอันดับ 1 คือโรคภูมิแพ้ไรฝุ่น โดย เฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ คนที่เป็นโรคนี้นอกจากจะมีอาการเรื้อรังไม่สามารถหายขาดได้ง่ายๆแล้ว ความรุนแรงสูงสุดคือถึงขั้นเสียชีวิตได้ และข้อมูลที่น่ากลัวเป็นการตอกย้ำให้เราต้องหันมาตระหนักถึงเรื่องนี้อย่างจริงจัง คือตัวไรฝุ่นบ้าน เชื้อโรคตระกูลเดียวกับเห็บที่อยู่ในสุนัข มักซ่อนตัวอยู่บนที่นอน พื้นที่ส่วนตัวที่ทุกคนต้องใช้เวลาในการพักผ่อน
พ.ท.พญ.ธวัชธิดา วิประกษิต แพทย์ประจำสำนักงานแพทย์ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เผยว่า ไรฝุ่นเป็นสัตว์ตัวเล็กๆมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น มักอาศัยหลบซ่อนตัวตามซอกมุมต่างๆในบ้าน ที่ไม่ ค่อยมีแสงสว่างส่องผ่าน เช่น ห้องนอน ที่นอน หมอน ผ้าห่ม โซฟา พรม และเฟอร์นิเจอร์ที่ทำด้วยวัสดุเส้นใย เพราะมีคลังอาหารที่ไรฝุ่นชอบกิน เช่น คราบไคล สะเก็ดผิวหนัง รังแค สปอร์ของเชื้อรา ฯลฯ เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อนชื้นแบบเมืองไทย ซึ่งตัวไรฝุ่นเป็นตัวการสำคัญในการผลิตสารก่อภูมิแพ้ อาการของคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ไรฝุ่นจะจาม ไอ น้ำมูกไหล มีผื่นคัน ใต้ตาช้ำ แน่นจมูก หอบ และอาจเกิดภาวะช็อกจนเสียชีวิตได้ หากไปหาหมอหรือกินยาไม่ทัน ซึ่งโรคนี้เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาให้หายขาดยาก วิธีที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงที่จะอยู่กับแหล่งเพาะเชื้อไรฝุ่น และป้องกันง่ายๆด้วยการหมั่นทำความสะอาด
...
ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารทำความสะอาดและกำจัดเชื้อโรคในที่นอน โซฟา และพรม นายพิสิษฐ์ องค์ศรีจระกูล ผู้จัดการทั่วไปบริษัท ดีไฮจีนิค ประเทศไทย ได้ให้คำแนะนำถึงการทำความสะอาดแหล่งเพาะเชื้อไรฝุ่นแบบถูกวิธีว่า ต้องพยายามปรับห้องนอน หรือห้องต่างๆให้อากาศถ่ายเทสะดวก แสงแดดส่องถึง ขณะเดียวกันต้องทำให้ห้องไม่มีความชื้น เช่น เมื่อเปิดแอร์ก็ต้องตั้งเวลาปิดบ้าง เพื่อให้อากาศภายนอกไหลเวียนเข้ามาในห้อง เพราะไรฝุ่นเจริญเติบโตได้ดีในที่มืด และที่ที่มีความชื้นประมาณ 25-28 องศาเซลเซียส ควรหมั่นทำความสะอาดที่นอน ด้วยการเปลี่ยนผ้าปูที่นอนอาทิตย์ละครั้ง หรือนำฟูกที่นอนออกมาผึ่งแดดหรือลมอ่อนๆ ส่วนโซฟาและพรมก็ควรหมั่นดูดฝุ่น แต่ในบางครั้งปริมาณฝุ่นที่ถูกกักเก็บในที่นอนชั้นลึกๆก็ยากต่อการทำความสะอาด จึงควรให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และความชำนาญด้านสุขอนามัยเป็นผู้ดูแล.