ทารกที่เกิดมาแล้วมีรูปเท้าบิดเอียงเข้าด้านในพบได้บ่อย บางรายเป็นแบบหายเองได้ แต่บางรายไม่สามารถหายเองได้ ซึ่งทารกเท้าปุกแบ่งง่ายๆ เป็น 2 แบบ

ทารกเท้าปุก แท้หรือเทียม สังเกตอย่างไร


เท้าปุกเทียม
คือ ไม่มีความผิดปกติที่แท้จริงกับโครงสร้างเท้า แต่รูปเท้าบิดเกิดจากเด็กขดตัวแน่นอยู่ในครรภ์ เท้าถูกกดอยู่ในท่าบิดเข้าด้านในเป็นเวลานาน อาจทำให้เอ็นเท้าด้านในตึง ในขณะที่เอ็นเท้าด้านนอกหย่อน เท้าปุกชนิดนี้พบได้บ่อย

การรักษา การดัดหรือกระตุ้นให้เส้นเอ็นมีการปรับความตึงให้สมดุล สามารถทำให้เท้ามีการเคลื่อนไหวเป็นปกติได้ หรืออาจทำการดัดเท้าและใส่เฝือกยาวตั้งแต่ปลายเท้าถึงต้นขา ประมาณ 2 – 3 ครั้ง จนเท้าอยู่ในรูปร่างปกติ มักจะหายภายในสามเดือน

เท้าปุกแท้
คือ เท้าแข็ง ถ้าไม่ได้รับการรักษา เท้าจะบิดแข็ง มากขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดเมื่อเด็กโตขึ้นจะใช้หลังเท้าเป็นจุดรับน้ำหนักเวลาเดิน ซึ่งทำให้เดินลำบาก ทรงตัวยาก เจ็บปวดได้บ่อย ใส่รองเท้าทั่วไปไม่ได้

การรักษา หากได้รับการรักษาตั้งแต่เป็นทารก ผลการรักษามักอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถทำให้เดินได้เหมือนเด็กปกติ โดยแพทย์จะทำการดัดเท้าและใส่เฝือกยาวตั้งแต่ปลายเท้าถึงต้นขาตั้งแต่ในช่วง 1 - 2 สัปดาห์แรก รูปร่างของเท้าจะค่อยๆ ดีขึ้นจนเกือบปกติ แต่ข้อเท้ามักจะยังกระดกขึ้นได้ไม่สุดเหมือนปกติ แพทย์จะทำการตัดเอ็นร้อยหวาย และใส่เฝือกยาวต่ออีก 3 สัปดาห์ ผลการรักษาขึ้นอยู่กับความแข็งของเท้าปุก

...

ทารกเท้าปุก แท้หรือเทียม สังเกตอย่างไร


รูปร่างเท้าปุกเทียม

เท้าบิดเข้าด้านในและจิกเท้าลง โดยรูปร่างเท้าไม่ได้บิดมาก ใช้มือจับดัดเบาๆ สามารถดัดเท้าให้เคลื่อนไหวได้ทุกทิศทาง

รูปร่างเท้าปุกแท้


เท้าบิดเข้าด้านในโค้งงอชัดเจน ด้านข้างเท้าเป็นเส้นโค้ง ด้านในจะเห็นร่องเนื้อเป็นเส้นบุ๋มลงไป ตรงกลางและด้านหลังเท้า เป็นเส้นซอกลึกเข้าไป

วิธีแยกเท้าปุกแท้ กับ เท้าปุกเทียม

ทารกเท้าปุก แท้หรือเทียม สังเกตอย่างไร


4 วิธีดังกล่าว พอจะช่วยแยกเท้าปุกเทียมออกจากเท้าปุกแท้ได้ และในเท้าปุกเทียมการดัดและเขี่ยข้างเท้าจะช่วยกระตุ้นให้เท้ากลับมาสมดุลเหมือนเท้าปกติได้เร็วขึ้นอีกด้วย ถือเป็นการรักษาขั้นต้นอย่างหนึ่ง


คลิกนิกโรคกระดูกในเด็ก โรงพยาบาลเวชธานี