สังคมไทยเป็นสังคมที่ยังมีปัญหาด้านสมรรถนะการใช้เหตุผลของพลมืองอยู่มาก โดยสังเกตได้จาก การแสดงออกของประชาชน ผู้บริหาร ข้าราชการ และนักการเมืองผ่านสื่อสารมวลชนต่าง ๆ และสื่อเครือข่ายสังคม (Social Networks) รวมทั้งการเสนอความคิดเห็นของสื่อมวลชนเองก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่ประเทศอยู่ในภาวะวิกฤติ
การขาดทักษะการใช้ เหตุผลอาจนำสู่ปัญหาต่าง ๆ ในสังคมรวมทั้งความสงบเรียบร้อยของสังคม ช่องว่างของสมรรถนะการใช้เหตุผลระหว่างประชาชนกับผู้ปกครองยิ่งมีมากเท่าไร จะทำให้การบริหารจัดการสังคม และการรักษาความสงบสุขของสังคมยิ่งยากขึ้นเท่านั้น การลดช่องว่างของสมรรถนะการใช้เหตุผลสามารถทำได้โดยใช้กระบวนให้การศึกษาที่ เหมาะสมกับประชาชนผ่านระบบการศึกษาที่รัฐควบคุมอยู่
พื้นฐานทักษะการใช้เหตุผล (Basic Reasoning Skills)
สมรรถนะ ความคิดเชิงเหตุผล เป็นอกัตภาพของเอกัตบุคคลที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสังคม เพราะสังคมประกอบด้วยเอกัตบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน หรือรวมกันอยู่ในสถานที่แห่งหนึ่ง ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน จนถึงระดับประเทศ และระดับภูมิภาคของโลก ในแต่ละสังคมที่มีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีและมีความสงบเรียบร้อยในสังคมจะ พบว่ามีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ สังคมนั้นมีระบบการศึกษาที่ดีและส่วนมากของสมาชิกในสังคมมีสมรรถนะพื้นฐาน การใช้เหตุผลที่ดี ถึงแม้จะเป็นสังคมในอุดมคติก็ตาม
พื้นฐานทักษะการ ใช้เหตุผลเป็นกระบวนการทางปัญญาที่อยู่ใน รูปแบบต่าง ๆ จำแนกเพื่อการศึกษาและทำความเข้าใจได้ 3 กลุ่มได้แก่ 1) ทักษะการจดจำบันทึกและการเรียกใช้ (Storage and Retrieval Skills) 2) ทักษะการจับคู่สัมพันธ์ (Matching Skills) และ 3) ทักษะการดำเนินการจัดการ (Execution Skills) โดยมีสาระสังเขปสรุปรวมเพื่อความเข้าใจสำหรับการพัฒนาสมรรถนะของพลเมือง ดังนี้
1. ทักษะการจดจำบันทึกและการเรียกใช้ (Storage and Retrieval Skills) เป็นสมรรถนะในการถ่ายโยง ส่งผ่านข้อมูลความรู้จากสมองในส่วนความจำระยะยาว (Long-term Memory) ที่ทำหน้าที่เข้ารหัสจัดเก็บข้อมูล สารสนเทศ เมื่อมีการพบเห็นสิ่งใหม่ก็สามารถนำสาระความรู้ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้แล้ว ออกมาใช้ได้ ตัวอย่างของทักษะในการจัดเก็บและเรียกใช้คือ “การสร้างภาพสำนึก” (Visual Imagery Mediation) ซึ่งเป็นสภาวะของการสร้างตัวแทนข้อมูลความรู้ ต่าง ๆ ทั้งในรูปของภาพ เสียง ท่าทาง หรือภาพลักษณ์ ที่เป็นตัวแทนของสิ่งที่ได้จดจำไว้ วิธีการที่เรียกว่า “ยุทธวิธีวลีช่วยจำ” หรือ “Mnemonic Strategies” เป็นตัวอย่างของการพัฒนาสมรรถนะของทักษะด้านการจดจำบันทึกและเรียกใช้
2. ทักษะการจับคู่สัมพันธ์ (Matching Skills) เป็น สมรรถนะในการค้นหาความเหมือนและความแตกต่างของปรากฏการณ์ระหว่างสิ่งที่มี อยู่แล้วในความจำกับสิ่งใหม่ที่ได้พบ แยกออกเป็นสมรรถนะย่อย ๆ เพื่อความเข้าใจได้อีก 5 สมรรถนะได้แก่ 1) สมรรถนะด้านการจัดกลุ่ม (Categorization) 2) สมรรถนะด้านสัมพันธ์ความต่าง (Extrapolation) 3) สมรรถนะด้านสัมพันธ์ความเหมือน (Analogical Reasoning) 4) สมรรถนะด้านการประเมินตรรกะ (Evaluation of Logic) และ 5) สมรรถนะด้านการประเมินเพื่อการตัดสินคุณค่า (Evaluation of Value)
3. ทักษะการดำเนินการจัดการ (Execution Skills) เป็น สมรรถนะสุดท้ายในการกระบวนการทางปัญญาของทักษะการใช้เหตุผล ซึ่งมีความหมายเหมือนกับการบริหารงานของผู้บริหารงานในองค์กรต่าง ๆ ที่มีภารกิจหลายอย่างทั้งด้านบุคคลากร การเงิน การผลิต การขาย การบริการ เป็นต้นสมรรถนะในด้านนี้แยกออกเป็นสมรรถนะย่อย ๆ เพื่อความเข้าใจได้อีก 2 สมรรถนะได้แก่ 1) สมรรถนะด้านการอธิบายขยายความ (Elaboration) และ 2) สมรรถนะด้านการแก้ปัญหา (Problem Solving)
การพัฒนาสมรรถนะการใช้เหตุผล: การส่งเสริมที่ผิดพลาด
หลักสูตร และการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีเนื้อหาสาระและวิธีการสร้างเสริม สมรรถนะของพื้นฐานทักษะการใช้เหตุผลปรากฏอยู่มากทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้หลักสูตรและการสอนในหลักสูตรวิชาชีพครูยังได้สอดแทรกและ มีกิจกรรม วิธีการสอน เทคนิคการใช้กลวิธีสอนที่สนับสนุนสมรรถนะการใช้เหตุผลอย่างเป็นรูปธรรมอีก จำนวนมาก จึงอาจกล่าวได้ว่า ในระบบการศึกษาของไทยมีปริมาณของเนื้อหาสาระ วิธีสอนและเป้าหมายของการสอนให้ผู้เรียนมีทักษะการใช้เหตุผลในปริมาณที่มาก พอควรอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ความจริงเชิงประจักษ์พบว่า ในปีนี้ (พ.ศ. 2554) ประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัยอย่างมาก แต่ยังมีพลเมืองไทยจำนวนหนึ่งทั้งที่เป็นประชาชนธรรมดา ผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ นักการเมือง พ่อค้า ที่แสดงความคิด ทัศนะ ความรู้สึก ผ่านสื่อสารมวลชนในช่วงประเทศไทยประสบกับปัญหาอุทุกภัยอย่างหนัก ยาวนาน และมีบริเวณกว้าง พวกเขาเหล่านั้นได้แสดงออกให้เห็นถึงสมรรถนะของทักษะการใช้เหตุผลที่แตกต่าง กันมาก ความแตกต่างนี้เองอาจเป็นต้นตอของปัญหาต่าง ๆ ในสังคมที่อาจเป็นอุปสรรคของการพัฒนาประเทศได้
การส่งเสริมให้เด็ก ๆ หรือผู้ใหญ่ก็ตามมีความคิดสร้างสรรค์และส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงออกเป็น สิ่งที่ดีงามและได้รับการยอมรับว่าดีสำหรับการส่งเสริมให้เกิดขึ้นกับ พลเมืองไทยที่ในอดีตนั้นอยู่ภายใต้สมมุติฐานว่า “คนไทยเป็นคนไม่สร้างสรรค์ ไม่กล้าคิด กล้าพูดและไม่ชอบแสดงออก”
อย่างไรก็ตามในกระบวนการของ การส่งเสริมและตัดสินคุณค่าของ “ความคิดสร้างสรรค์” อาจมีความลำบากและไม่อาจตัดสินคุณค่าได้อย่างเหมาะสม สมรรถนะในการตัดสินคุณค่าเป็นทักษะการใช้เหตุผลอย่างหนึ่งซึ่งได้กล่าวไป แล้ว ดังนั้นการแสดงความคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์และการแสดงออกด้วยพฤติกรรม และวิธีการใช้ “วาทกรรมแปลกใหม่” จึงเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ซึ่งเป็นสิ่ง “แปลก” มากกว่าเป็นสิ่ง “สร้างสรรค์”
นอกจากนั้นในกระบวนการของการ ส่งเสริมการใช้เหตุผลยังไม่สามารถจัดการกับการประเมินและเลือกใช้ตรรกะ (Logic) ที่เหมาะสม และยังนำมาสู่กระบวนการของการคิดเชื่อมโยงปัญหาซึ่งนำไปสู่ความผิดพลาดและ ไม่อยู่บนฐานของความรู้ ความจริงที่ถูกต้อง เพราะตรรกะเป็นเพียงเครื่องมือในการหาความจริง ไม่ใช่วิธีการค้นหาความจริงที่จะยืนยันผลการค้นพบได้อย่างถูกต้องเหมือนวิธี การทางวิทยาศาสตร์
สมรรถนะทางด้านการเชื่อมโยงเพื่อการสรุปความและ ขยายความถูกนำไปปะปนกับกระบวนการเชิงตรรกะและการใช้วาทกรรมที่แปลกใหม่บนฐาน การใช้ภาษาและความรู้สึก ความเชื่อ ค่านิยม ทำให้เกิดความสับสนและสร้างความลังเลในการตัดสินใจดำเนินการทำงานเพื่อแก้ ปัญหาในภาวะวิกฤติได้เช่นกัน
ครู/อาจารย์ผู้สอน ผู้นำสังคมในแต่ละระดับ รวมทั้งเหล่าดารา นักแสดง และพิธีกรบางคนที่ประชาชนรู้จัก ยังไม่เป็นต้นแบบที่ดีในการใช้เหตุผลในการแสดงออกทั้งการพูดและการกระทำ ทำให้เกิดการเลียนแบบและสร้างค่านิยมที่ไม่ใช้เหตุผลในการคิดและปฏิบัติ
สรุป
จาก ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในภาวะวิกฤติของสังคมไทย อาจทำให้พิจารณาได้ว่า อิทธิพลของระบบการศึกษา การฝึกอบรมในสังคมไทย ยังไม่สร้างความเข้มแข็งให้กับอารมณ์และความรู้สึก หรือวุฒิภาวะของการใช้เหตุผลของพลเมืองไทยได้ พลเมืองไทยยังต้องได้รับการพัฒนาสมรรถนะทักษะพื้นฐานการใช้เหตุผลสำหรับ เผชิญกับภาวะวิกฤติในรูปแบบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งการพัฒนานี้อาจมีความสัมพันธ์กับกระบวนการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษาและระยะเวลาของการเป็นสังคมแห่งความรู้และสังคมประชาธิปไตย
สังคม ไทยบางส่วนยังไม่นิยมใช้ความรู้ที่ผ่านการตรวจสอบแล้วในการแก้ปัญหา ยังคงใช้ความเชื่อ พิธีการ พิธีกรรมต่าง ๆ เป็นฐานของการคิดและการปฏิบัติ อิทธิพลของระบบสังคมท้องถิ่น วัฒนธรรม จารีตประเพณี การอบรมเลี้ยงดู ธรรมชาติและบรรยากาศของการทำงานในองค์กรยังมีอิทธิพลสูงในการกำหนดการใช้ เหตุผลกับพลเมืองไทย
การยอมรับความเห็นและความเชื่อมากกว่าการน ยอมรับความรู้จึงเกิดขึ้นด้วยความเห็นพ้องต้องกันของคนส่วนมาก ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากอิทธิพลของสื่อสารมวลชนที่รัฐพยายามส่งเสริมให้เกิด เสรีภาพในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ทั้งที่ยังไม่มีกระบวนการควบคุมที่ดีโดยเฉพาะในภาวะวิกฤติของประเทศ
การยอมรับวิธีการและแนวการปฏิบัติตามเสียงข้างมากในระบอบประชาธิปไตย อาจไม่ใช่การเลือกใช้วิธีที่ถูกต้องเหมาะสมสำหรับการแก้ปัญหาวิกฤติของชาติ ได้
การศึกษาเพื่อการพัฒนามวลชนโดยเฉพาะพลเมืองไทยให้มีสมรรถนะในการ ใช้เหตุผลในภาวะที่ต้องเผชิญกับวิกฤติการณ์ต่าง ๆ จึงเป็นภารกิจที่สถาบันการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภทต้องกลับมาทบทวนเพื่อการแก้ไข ปรับปรุงและส่งเสริมอีกครั้ง
...
รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์